ผู้เขียน หัวข้อ: โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)  (อ่าน 17 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 204
  • เวบบอร์ดฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี
    • ดูรายละเอียด
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)
« เมื่อ: วันที่ 4 เมษายน 2025, 15:51:39 น. »
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)

มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้มากในเพศชาย โดยเกิดจากเซลล์ที่เจริญเติบโตอย่างผิดปกติช้า ๆ บริเวณต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย มีลักษณะคล้ายลูกเกาลัดเล็ก ๆ ทำหน้าที่ผลิตน้ำสำหรับหล่อเลี้ยงและลำเลียงอสุจิ

สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากในปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแต่ชัด แต่อาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุที่มากขึ้น โรคอ้วน กรรมพันธุ์ รวมถึงการสัมผัสสารเคมีหรือรังสีบางชนิด โดยมะเร็งต่อมลูกหมากจัดเป็นมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันดับ 4 ของชายไทย และมีแนวโน้มที่อัตราการเกิดมะเร็งชนิดนี้จะสูงขึ้นทุกปี


อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มแรกจะไม่แสดงอาการจนกว่าเนื้องอกจะไปทำให้ต่อมลูกหมากใหญ่โตขึ้น หรือเมื่อมะเร็งเริ่มลุกลามไปเกินกว่าบริเวณต่อมลูกหมาก เซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตขึ้นจนเกิดแรงกดทับต่อท่อปัสสาวะเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมักมีปัญหาเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ ดังนี้

    ปัสสาวะออกยาก
    ปัสสาวะขัด แผ่ว
    ปวดปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะตอนกลางคืน
    รู้สึกว่ายังปัสสาวะไม่สุด

มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะที่เป็นมากยังอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนล้า มีอาการบวมที่ร่างกายส่วนล่างลงไป ขาอ่อนล้าหรือขยับไม่ได้ และมักมีอาการท้องผูกร่วมด้วย มีอาการอ่อนแรง อาจเจ็บบริเวณเชิงกราน หรือหลังส่วนล่าง


สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมาก

แพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากได้อย่างแน่ชัด รู้เพียงแต่ว่าเกิดจากเซลล์ในต่อมลูกหมากที่ผิดปกติและมีการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอจนเซลล์เติบโตและขยายขึ้นรวดเร็วกว่าปกติ ทำให้ลุกลามทำลายเซลล์ที่ปกติในบริเวณดังกล่าว ในขณะที่เซลล์ที่ผิดปกติเหล่านี้จะมีชีวิตต่อไป และก่อให้เกิดเนื้องอกที่สามารถลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบข้าง ทั้งยังอาจแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย

มะเร็งต่อมลูกหมากยังอาจเกิดได้จากปัจจัยอื่น ๆ โดยบุคคลเหล่านี้อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้สูง ไม่ว่าจะเป็น

    ผู้สูงอายุ ยิ่งอายุมากก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดนี้ยิ่งขึ้น โดยการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่นั้นพบในชายอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
    บุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก การมีพ่อ พี่ชาย หรือน้องชายอายุต่ำกว่า 60 ปีที่เป็นโรคนี้ หรือมีญาติผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม อาจทำให้มีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น
    ผู้ป่วยโรคอ้วน มีงานวิจัยบางส่วนพบว่ามะเร็งต่อมลูกหมากอาจเชื่อมโยงกับการเป็นโรคอ้วน นอกจากนี้โรคอ้วนยังอาจเพิ่มความรุนแรงของมะเร็งและส่งผลให้ยากต่อการรักษา
    ผู้ที่รับสารเคมีหรือรังสีที่อาจก่อมะเร็งบางชนิดเข้าสู่ร่างกาย เช่น ฝนเหลือง (Agent Orange)

โดยมะเร็งต่อมลูกหมากชนิดที่พบได้บ่อยคือ มะเร็งชนิดต่อม (Adenocarcinoma) ซึ่งจะพัฒนาจากเซลล์ภายในต่อมลูกหมากเอง แต่มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ชนิดอื่น ๆ อย่างมะเร็งชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Carcinoma) มะเร็งชนิดเซลล์ทรานซิชัน (Transitional Cell Carcinoma) มะเร็งเน็ท (Neuroendocrine Tumor: NET) และมะเร็งชนิดเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Sarcoma) ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่มักพบได้น้อยมาก


การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก

การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยแพทย์จะพูดคุยกับผู้ป่วยถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธี เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกการวินิจฉัยที่เหมาะสมและสบายใจที่สุด

การตรวจเบื้องต้น (Screening Test) จะแนะนำให้ตรวจเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป หรืออาจเร็วกว่านั้นในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดนี้สูง โดยอาจทำได้ด้วยการตรวจทางทวารหนัก และการเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งในต่อมลูกหมาก ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้


การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งในต่อมลูกหมาก (Prostate-specific Antigen: PSA)

แพทย์จะเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาร PSA ในกระแสเลือด ซึ่งระดับค่าของสารที่สูงกว่าปกติอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อ การอักเสบ การขยายใหญ่ของต่อมลูกหมาก รวมถึงการเกิดมะเร็งได้ด้วย


การตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam: DRE)

เนื่องจากต่อมลูกหมากนั้นอยู่ติดกับทวารหนัก แพทย์จึงสามารถสวมถุงมือแล้วสอดนิ้วเข้าไปในทวารหนักของคนไข้เพื่อตรวจดูว่าพื้นผิว รูปร่าง และขนาดของต่อมลูกหมากเกิดความผิดปกติใด ๆ หรือไม่

อย่างไรก็ตาม การตรวจเบื้องต้นทั้งสองชนิดไม่อาจวินิจฉัยได้แน่ชัด และยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้ ซึ่งหลังจากการวินิจฉัยเบื้องต้นด้วยการตรวจ PSA และ DRE แล้ว หากพบความผิดปกติใด ๆ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหามะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้


การตรวจอัลตราซาวด์

การอัลตราซาวด์ผ่านทางทวารหนักด้วยการใช้เครื่องมือสำหรับตรวจชิ้นเล็ก ๆ แหย่เข้าไปทางทวารหนัก แล้วใช้คลื่นเสียงช่วยในการถ่ายภาพของต่อมลูกหมาก ซึ่งเครื่องมือนี้ยังนำไปใช้ในการช่วยวินิจฉัยด้วยวิธีตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากได้ด้วย


การตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (TRUS)

แพทย์จะเก็บชิ้นเนื้อตัวอย่างจากต่อมลูกหมากด้วยการใช้เข็มขนาดบางสอดเข้าไปตามทวารหนัก โดยมีอุปกรณ์อัลตราซาวน์ช่วยนำทางให้สามารถสอดเข็มผ่านผนังช่องทวารหนักแล้วเจาะไปยังต่อมลูกหมากเพื่อนำชิ้นเนื้อที่ได้ส่งวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่

หากวินิจฉัยพบเนื้อร้ายจากชิ้นเนื้อตัวอย่าง แพทย์จะวิเคราะห์ต่อไปว่าเซลล์มะเร็งดังกล่าวน่าจะแพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด แล้วดูระยะของมะเร็ง เพื่อพิจารณาถึงวิธีการรักษาอย่างเหมาะสมในขั้นต่อไป

ส่วนในกรณีที่เซลล์มะเร็งมีโอกาสแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของร่างกายได้สูง การตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ อาจนำมาใช้ร่วมด้วย เช่น

    การถ่ายภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือซีทีสแกน (CT scan) เพื่อให้สามารถมองเห็นส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย
    การตรวจสแกนกระดูก (Isotope Bone Scan) สำหรับการวินิจฉัยมะเร็งที่แพร่กระจายไปยังกระดูก โดยใช้สารทึบรังสีฉีดเข้าสู่เส้นเลือด สารนี้จะไปสะสมอยู่บริเวณกระดูกที่เกิดความผิดปกติและมองเห็นเป็นสีขึ้นมา

ทั้งนี้ มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

    ระยะที่ 1 ระยะแรกเริ่มของโรค เซลล์มะเร็งมีขนาดเล็กและไม่รุนแรงเมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
    ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งอาจยังมีขนาดเล็กอยู่ แต่ค่อนข้างมีความรุนแรง หรือในบางรายเซลล์มะเร็งอาจมีขนาดใหญ่ขึ้นและเจริญเติบโตไปทั้งสองข้างของต่อมลูกหมาก
    ระยะที่ 3 เป็นระยะมะเร็งลุกลามออกจากบริเวณต่อมลูกหมากไปยังระบบสืบพันธุ์หรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ รอบข้าง
    ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งเติบโตจนรุกล้ำเข้าไปยังอวัยวะที่อยู่ใกล้อย่างกระเพาะปัสสาวะ หรือแพร่กระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด หรืออวัยวะอื่น ๆ

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

การตัดสินใจเลือกวิธีรักษาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความเร็วในการเจริญเติบโตของมะเร็ง การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย และผลข้างเคียงของการรักษาด้วยวิธีนั้น ๆ ซึ่งจะรักษาหายขาดหรือทำได้เพียงประคองอาการก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค โดยวิธีรักษาที่แพทย์ใช้กันจะมีดังนี้


การเฝ้าระวังโรค (Active Surveillance)

การตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากตั้งแต่ระยะเริ่มแรกอาจไม่จำเป็นต้องรักษาโดยทันที แพทย์อาจเฝ้าระวังด้วยการให้ผู้ป่วยตรวจเลือด (PSA) ตรวจทางทวารหนัก (DRE) และอาจตรวจชิ้นเนื้อเพื่อดูการพัฒนาของเซลล์มะเร็ง หากพบมะเร็งมีการเจริญเติบโตขึ้นก็อาจใช้การรักษาวิธีอื่นต่อไป

การเฝ้าระวังโรคอาจเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการของมะเร็ง มะเร็งที่คาดว่าจะเติบโตช้าและอยู่ในบริเวณเล็ก ๆ ของต่อมลูกหมาก และยังอาจใช้ประคองอาการผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงชนิดอื่นอยู่ด้วย หรือผู้ป่วยที่มีอายุมากแล้วที่การรักษาทำได้ยาก

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีความเสี่ยงที่มะเร็งจะเติบโตและแพร่กระจายไปในระหว่างการเฝ้าระวัง อาจส่งผลให้โอกาสในการรักษาหายนั้นน้อยลงไป


การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมาก

การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นตัวเลือกในการรักษามะเร็งที่คาดว่าจะแพร่กระจายออกไปนอกต่อมลูกหมาก โดยวิธีหลักคือ การผ่าเอาต่อมลูกหมากทั้งหมดออกไป (Radical Prostatectomy) รวมถึงเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ และต่อมน้ำเหลืองบางส่วนออกด้วย

การผ่าตัดอาจเสี่ยงต่อภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ทั้งนี้ผลข้างเคียงอื่น ๆ ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของกระบวนการผ่าตัดที่เลือกใช้ อายุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยด้วย


การฉายรังสีบำบัด

การรักษาด้วยการใช้รังสีพลังงานสูงฆ่าเซลล์มะเร็งทำได้ 2 ทางคือ การฉายรังสีจากภายนอกร่างกายด้วยรังสีเอกซเรย์หรือรังสีโปรตอน ทำสัปดาห์ละ 5 วันเป็นเวลา 4–8 สัปดาห์ และการฉายรังสีจากภายในร่างกาย โดยนำเมล็ดรังสีขนาดเท่าเมล็ดข้าวใส่ลงในเนื้อเยื่อต่อมลูกหมาก ซึ่งเมล็ดเหล่านี้จะเปล่งรังสีออกมาเรื่อย ๆ เป็นเวลานานจนรังสีหมดไปเอง
และไม่จำเป็นต้องนำออกจากร่างกาย

วิธีนี้เหมาะสำหรับการรักษามะเร็งที่เกิดเฉพาะแห่งและมะเร็งที่เติบโตขึ้นในต่อมลูกหมาก และยังช่วยลดการลุกลามของมะเร็ง รวมถึงบรรเทาอาการต่าง ๆ

ผลข้างเคียงของการทำรังสีบำบัดที่อาจเกิดขึ้นช่วงสั้น ๆ คือ อาการเจ็บหรือระคายเคืองที่ทวารหนัก ท้องเสีย เหนื่อยล้า กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะแล้วเจ็บ และขนที่อวัยวะเพศร่วง ส่วนผลข้างเคียงระยะยาวอาจทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัว ปัสสาวะขัด หรือมีปัญหาที่เกี่ยวกับการขับถ่ายทางทวารหนัก ได้แก่ ท้องเสีย มีเลือดออกหรือระคายเคืองที่ทวารหนัก

การรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาส 1 ใน 3 ที่ผู้ป่วยจะกลับไปเผชิญกับมะเร็งต่อมลูกหมากอีกครั้ง แพทย์จะเลือกใช้การใช้ยาในการควบคุมมะเร็ง แต่จะไม่ใช้การผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดนั้นมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูงในผู้ป่วยที่เคยได้รับรังสีบำบัดมาก่อน และหากการทำรังสีบำบัดล้มเหลวก็อาจเลือกใช้การรักษาด้วยการอัลตราซาวด์ความถี่สูง (HIFU) และการรักษาด้วยความเย็นจัด (Cryotherapy) ต่อไป


ฮอร์โมนบำบัด

การรักษาเพื่อยับยั้งการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนของร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะทำให้มะเร็งต่อมลูกหมากเติบโตขึ้น การยับยั้งฮอร์โมนนี้จึงเท่ากับเป็นการลดการพัฒนาของเซลล์มะเร็งหรือทำให้เซลล์ตาย การลดระดับฮอร์โมนนี้ในร่างกายอาจทำโดยใช้ยายับยั้งการผลิตเทสโทสเตอร์โรน ยาต้านการเข้าสู่เซลล์มะเร็งของเทสโทสเตอร์โรน หรือการผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออกก็ได้

การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัดมักใช้กับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่มะเร็งพัฒนาขึ้นมากแล้ว โดยช่วยให้เซลล์มะเร็งหดตัวเล็กลงและเติบโตช้าลง รวมถึงผู้ป่วยระยะแรกก็อาจใช้วิธีนี้หดเซลล์มะเร็งให้เล็กลง ก่อนที่จะบำบัดด้วยรังสีต่อไป จะช่วยให้ได้ผลยิ่งขึ้น นอกจากนี้ฮอร์โมนบำบัดยังอาจใช้หลังจากทำรังสีบำบัด เพื่อลดการเกิดเซลล์มะเร็งอีกครั้ง

ผลข้างเคียงจากการรักษาชนิดนี้ ได้แก่ ความต้องการทางเพศลดลง หย่อนสมรรถภาพทางเพศ หน้าอกบวมและนิ่มลง ร้อนวูบวาบ เหงื่อออก กระดูกพรุน น้ำหนักขึ้น

 
การทำเคมีบำบัด

การใช้ยาฆ่าเซลล์มะเร็งที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยฉีดเข้าเส้นเลือดดำที่แขนหรือรับประทานยาก็ได้ มักใช้กับมะเร็งต่อมลูกหมากที่แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของร่างกายและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด การทำเคมีบำบัดไม่อาจช่วยรักษาให้หายได้ แต่จะควบคุมการเกิดมะเร็งและอาการที่เกิดขึ้น

ผลข้างเคียงหลักของการทำเคมีบำบัดคือจะกระทบต่อเซลล์ปกติบริเวณรอบ เช่น เซลล์ภูมิคุ้มกัน และอาจเกิดการติดเชื้อ คลื่นไส้ อาเจียน แผลร้อนในในปาก อ่อนล้า ผมร่วง หรือไม่อยากอาหาร แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้อาจสามารถควบคุมได้บ้างด้วยการใช้ยาอื่น ๆ ป้องกัน


การทำ HIFU (High Intensity Focus Ultrasound)

การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ที่มีความเข้มข้นสูงช่วยกำจัดก้อนมะเร็งที่อยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมากโดยตรง แต่จะไม่รุกล้ำร่างกายเช่นการผ่าตัดอื่น ๆ โดยแพทย์อาจพิจารณาการทำ HIFU ก่อนการรักษาอื่นหรือเมื่อการฉายแสงไม่ได้ผล

HIFU มีข้อจำกัดที่รักษาได้เพียงมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น และต้องตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ (MRI Scan) หรืออัลตราซาวด์แล้วพบความผิดปกติของเซลล์มะเร็ง ไม่อาจรักษามะเร็งในระยะแพร่กระจายและตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอหรืออัลตราซาวด์ไม่พบได้

การรักษาด้วย HIFU นั้นก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำมาก แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิวไหม้ได้ สำหรับผลข้างเคียงอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน แต่ที่มักพบได้บ่อยก็เช่น ปัญหาในการปัสสาวะ และหย่อนสมรรถภาพทางเพศ


การรักษาด้วยความเย็นจัด (Cryotherapy)

การรักษาด้วยการใช้ความเย็นจัดช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งด้วยการใช้เข็มเล็ก ๆ สอดเข้าไปในต่อมลูกหมากทางผนังทวารหนัก เข็มเหล่านี้บรรจุแก๊สเย็นจัดที่จะช่วยให้เนื้อเยื่อบริเวณรอบต่อมลูกหมากแข็งตัว จากนั้นทำอีกครั้ง แต่คราวนี้ใช้เข็มบรรจุแก๊สร้อนเพื่อให้เนื้อเยื่ออุ่นลง กระบวนการนี้จะช่วยให้เซลล์มะเร็งและเนื้อเยื่อบริเวณรอบตายลงได้

การรักษาด้วยความเย็นบางครั้งใช้กับมะเร็งที่ไม่แพร่กระจายไปเกินกว่าบริเวณต่อมลูกหมาก โดยอาจเป็นทางเลือกรองเมื่อการใช้รังสีบำบัดไม่ได้ผล ทั้งนี้ยังไม่สามารถยืนยันถึงผลการรักษาระยะยาว ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้คือภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ผลข้างเคียงอย่างปัญหาเกี่ยวกับทวารหนักหรือเป็นแผลทะลุเองก็เกิดขึ้นได้ เพียงแต่พบได้ไม่บ่อย

นอกจากการรักษาข้างต้น ในต่างประเทศยังมีอีกวิธีคือ ชีวบำบัด เป็นการใช้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง โดยจะนำเอาเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยไปทำพันธุวิศวะกรรมในห้องปฏิบัติการให้สามารถต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง จากนั้นจึงฉีดกลับเข้าสู่ร่างกายผ่านเส้นเลือดดำอีกครั้ง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการนำวิธีนี้มาใช้ในประเทศไทย


ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคมะเร็งต่อมลูกหมากและการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้


มะเร็งแพร่กระจาย

มะเร็งอาจเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะบริเวณใกล้ เช่น กระเพาะปัสสาวะ และอาจแพร่ผ่านทางกระแสเลือดหรือระบบต่อมน้ำเหลืองไปยังกระดูกและอวัยวะอื่น ๆ ทำให้มีอาการต่อไปนี้ได้

    เจ็บปวดรุนแรง
    กระดูกแตกและร้าว
    เมื่อยที่สะโพก ต้นขา หรือหลัง แขนขาอ่อนแรง
    ระดับแคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มึนงง
    เกิดการกดทับไขสันหลัง ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่

ทั้งนี้ ภาวะแทรกซ้อนจากการกระจายตัวของมะเร็งที่กระดูกสามารถบรรเทาด้วยยารับประทานกลุ่มบิสฟอสโฟเนต (Bisphosphonate) หรือยาฉีดดีโนซูแมบ (Denosumab)


ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ภาวะนี้เป็นทั้งภาวะแทรกซ้อนจากโรคและผลข้างเคียงจากการรักษา เนื่องจากอยู่ติดกับเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ การรักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จะขึ้นอยู่กับชนิดของอาการที่เป็น ความรุนแรง รวมถึงแนวโน้มในการหาย ทางเลือกในการรักษานั้นได้แก่ การใส่แผ่นซับปัสสาวะ การใช้ยา การสวนปัสสาวะ และการผ่าตัด


หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

การเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและการรักษา เช่น การผ่าตัด การทำรังสีบำบัด และฮอร์โมนบำบัด อาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทที่ควบคุมการตอบสนองของอวัยวะเพศชาย เนื่องจากอยู่ใกล้ต่อมลูกหมากมาก โดยปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เกิดขึ้นนี้อาจรักษาได้ด้วยการใช้ยา การใช้อุปกรณ์สูญญากาศที่ช่วยให้อวัยวะเพศแข็งตัว และการผ่าตัด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 4 เมษายน 2025, 16:12:24 น. โดย siritidaphon »

 






















































อยากขายของดี
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
ขายสินค้าไม่สต๊อกสินค้า
เริ่มขายของออนไลน์
รับทำ seo ด่วน
smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
ไม่รู้จะขายอะไรดี

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
โพสกระตุ้นยอดขาย
วิธีกระตุ้นยอดขาย เซลล์
วิธีแก้ปัญหายอดขายตก
เริ่มต้นขายของ
แหล่งรับของมาขายออนไลน์
ขายของออนไลน์อะไรดี
อยากขายของออนไลน์
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี

กลยุทธ์การหาลูกค้าใหม่
ทํายังไงให้ขายของดี ออนไลน์
วิธีการหาลูกค้าของ sale
ทำ SEO ติด Google
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี
วิธีหาลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
การหาลูกค้าใหม่ รักษาลูกค้าเก่า
ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า
เพิ่มฐานลูกค้าใหม่
รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด

โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
ทําไงให้ลูกค้าเข้าร้านเยอะ ๆ
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
เคล็ดลับขายของดี
ค้าขายไม่ดีทำอย่างไรดี
งานโพสโปรโมทงาน
ทํายังไงให้ขายของดี ออนไลน์
รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
หากลยุทธ์เพิ่มยอดขาย